เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับภาวะกระดูกบางหรือกระดูกพรุน
0 Vote 12570 Views
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับภาวะกระดูกบางหรือกระดูกพรุน

สาเหตุของการเกิดมักมาจากภาวะโภชนาการอาหารของสุนัขที่ได้รับโดยจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับปริมาณ
ของแคลเซียมและฟอสฟอรัส สองแร่ธาตุนี้มีความจำเป็นต่อการพัฒนาการเจริญเติบโตของลูกสุนัขและลูกแมว
Hyperparathyroidism เป็นภาวะที่ต่อม parathyroid ผลิตฮอร์โมน parathyroid มากเกินไป
ฮอร์โมน parathyroid ทำหน้าที่รักษาสภาพสมดุลย์ของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือด
ถ้าแคลเซียมในเลือดต่ำ ฮอร์โมน parathyroid จะมีระดับเพิ่มขึ้นเพื่อดึงแคลเซียมออกจากกระดูก
สู่เลือดและเนื้อเยื่ออื่นๆ

** Secondary (nutritional) hyperparathyroidism เกิดมากและถี่ในลูกสุนัขและลูกแมวที่ถูก
เลี้ยงดูด้วยเนื้อเพียงอย่างเดียว หรือ organ diet เช่น ตับ ซึ่งไม่มีความสมดุลของแคลเซียมและ
ฟอสฟอรัส ในเนื้อจะมีฟอสฟอรัสจำนวนมาก ขณะที่แคลเซียมมีจำนวนไม่เพียงพอ ถึงแม้ว่าแมวและ
สุนัขจะเป็นสัตว์กินเนื้อแต่พวกมันก็ไม่ได้กินเนื้อเพียงอย่างเดียว หากรวมถึงกระดูกด้วยเพราะมีความ
สำคัญในการรักษาสภาพสมดุลของแคลเซียมและฟอสฟอรัส

การได้รับแคลเซียมต่ำ ต่อม parathyroid จะผลิตฮอร์โมน parathyroid มากขึ้น
และแคลเซียมจะถูกดึงออกมาจากกระดูก ลูกแมวและลูกสุนัขที่เป็นโรคนี้มักจะเคลื่อนที่ได้ไม่สะดวก
และยืนขาถ่าง อีกทั้งเกิดการแตกหักของกระดูกได้ง่ายเพราะกระดูกบางมาก การเปลี่ยนแปลงความ
หนาแน่นของกระดูกนี้ มักเป็นสาเหตุให้เกิดการเจริญเติบโตผิดปกติ

ดังนั้น
การให้แคลเซียมและฟอสฟอรัสในขนาดที่เหมาะสมจะส่งผลในการเจริญเติบโตที่ดีของลูกสัตว์
ความต้องการแคลเซียมจะแตกต่างกันไปตามลักษณะของสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ยักษ์ และพันธุ์ใหญ่
จะต้องการแคลเซียมมากกว่าสุนัขพันธุ์กลางและพันธุ์เล็ก
เมนูอาหารที่ทำให้ขาดแคลเซียมอย่าง ข้าวคลุกเนื้อ ข้าวคลุกตับหรือเครื่องในสัตว์ และไม่มีการ
เสริมแคลเซียมจะทำให้สุนัขและแมวป่วยเป็นโรคกระดูกบางได้ เนื่องจากการทำงานหนักเกินไปของ
ต่อมพาราไทรอยด์
สำหรับการให้แคลเซียมมากเกินไปก็มีผลเสียเช่นกันทำให้เกิดขบวนการสันดาป แคลเซียมที่ผิดปกติไป
อย่างโรคกระดูกงอก เนื่องจากการหลั่งของฮอร์โมนแคลซิโทนิลเช่นกัน
ความเข้มข้นของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในอาหารของสุนัขและแมวนั้นขึ้นกับความ สัมพันธ์ของสัดส่วน
พลังงานของอาหารไม่ได้ขึ้นกับเปอร์เซ็นของมวลของอาหาร
ความเข้มข้นของประมาณแคลเซียมในอาหารของสุนัขพันธุ์ใหญ่จะอยู่ที่ 3 กรัมต่อสารอาหารที่ให้พลังงาน
1000 กิโลแคลอรี่ และมีช่วงที่อยู่ระหว่าง 2.4-4.5 กรัม ต่อ 1000 กิโลแคลลอรี่

กลไกการเกิดแคลเซียมขาดของร่างกายสุนัข
ทำไมเกิดปัญหา NSHP ขึ้นเหตุเพราะ เมื่อเราให้ลูกสุนัขกินอาหารที่ขาดแคลเซียมมาก เมื่ออาหารเหล่านั้น
เข้าไปในร่างกาย แคลเซียมจะเข้าไปในรูปแบบของปะจุไฟฟ้า ตัวรับรีเซฟเตอร์ในร่างกายที่ชื่อว่า
ชิฟเซลล์ที่อยู่ที่ผิวของต่อมพาราไทรอยด์จะส่งสัญญาณไปที่ต่อมพาราไทรอยด์ ให้ต่อมหลั่งพาราทอโมน
ออกมา ยังผลให้เซลล์ออสซิโอคลาส ซึ่งเป็นเซลล์ที่สลายกระดูกเพื่อส่งแคลเซียมเข้ามาในกระแสเลือด
และเพิ่มการ ดูดกลับแคลเซียมจากไต นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้ไตผลิตไวตามินดีในรูปแอคทีฟเพื่อดูดจับ
แคลเซียมในลำ ไส้ได้ดีมากขึ้นจะทำจนระดับแคลเซียมในเลือดเป็นปกติ เป็นไปเรื่อยๆ ยังผลทำให้กระดูก
บางและเกิดกระดูกหักในที่สุด

สัตวแพทย์หญิง อรญา ประพันธ์พจน์
โรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชัน