เวลาทำการ | |
---|---|
Mon | - |
Tue | - |
Wed | - |
Thu | - |
Fri | - |
Sat | - |
Sun | - |
Tel. | 02-441-5245-6 |
Website | http://www.vs.mahidol.ac.th/hospital/ |
Location | 999 พุทธมณฑลสาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล นครปฐม 73170 |
โรงพยาบาลสัตว์เพื่อการเรียนการสอนแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
เป็นครั้งแรกในวันที่ 5 มกราคม พ.ศ.2547 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถานที่สำหรับการเรียนการสอนทางด้านวิชาคลินิกปฏิบัติสัตว์เล็ก ให้บริการวิชาการด้านการรักษาพยาบาลแก่สัตว์ป่วยทั้งแบบปฐมภูมิ แบบทุติยภูมิ และ ตติยภูมิ เป็นศูนย์การสำหรับการศึกษาวิจัยด้านการวินิจฉัยและ รักษาโรคในสัตว์ นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และการศึกษาต่อเนื่องสำหรับ นักศึกษา อาจารย์ และ สัตวแพทย์ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์
โรงพยาบาลสัตว์เพื่อการเรียนการสอนแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
เป็นโรงพยาบาลสัตว์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการให้บริการด้านการตรวจวินิจฉัยและรักษาสัตว์ป่วยแห่งหนึ่งในประเทศไทย โดยแบ่งส่วนการทำงานออกเป็น 3 ส่วนหลัก ดังนี้
1. ฝ่ายปฏิบัติการและพัฒนาการเรียนการสอนด้านคลินิกปฏิบัติ
2. ฝ่ายบริหาร
3. ฝ่ายประกันคุณภาพ
ฝ่ายปฏิบัติการและพัฒนาการเรียนการารสอนด้านคลินิกปฏิบัติมีหน้าที่ให้บริการด้านการดูแลรักษาสัตว์ป่วยนอก
งานการเรียนการสอน งานวิจัย ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ โดยเน้นการปฏิบัติงานในโรคที่เกี่ยวข้องกับงานอายุรกรรม ศัลยกรรม และ การตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ โดยแบ่งออกได้เป็น 10 หน่วยงานย่อยดังนี้
1. หน่วยอายุรกรรมทั่วไป
2. หน่วยศัลยกรรมและสูติศาสตร์
3. หน่วยคลินิกพิเศษ
4. หน่วยฉุกเฉินและสัตว์ป่วยวิกฤติ
5. หน่วยสัตว์ป่วยใน
6. หน่วยทัศนวินิจฉัย
7. หน่วยห้องปฏิบัติการทางคลินิก
8. คลินิกสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ
9. คลินิกม้า
10. คลินิกสัตว์น้ำ
ฝ่ายปฏิบัติการและพัฒนาการเรียนการสอนด้านคลินิกปฏิบัติ เป็นส่วนงานหลักของโรงพยาบาล ประกอบไปด้วยบุคลากรทางด้านการสัตวแพทย์จำนวนมากกว่า 100 คน ในการให้คำปรึกษา วินิจฉัย รักษา และ ดูแลสัตว์ป่วย ทั้งสัตว์ป่วยนอก สัตว์ป่วยใน สัตว์ป่วยฉุกเฉิน และ สัตว์ป่วยวิกฤติ นอกจากนี้ในแต่ละหน่วยงานของฝ่ายปฏิบัติการและพัฒนาการเรียนการสอนด้านคลินิกปฏิบัติ ยังสามารถแบ่งตามความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านได้อีกดังนี้
1. หน่วยศัลยกรรมและสูติศาสตร์
1.1 ศัลยกรรมเนื้อเยื่ออ่อน
1.2 ศัลยกรรมกระดูก
1.3 ศัลยกรรมตา
1.4 ทันตกรรมและศัลยกรรมในช่องปาก
1.5 ศัลยกรรมระบบประสาท
1.6 ศัลยกรรมระบบสืบพันธุ์และทางเดินปัสสาวะ
1.7 หน่วยระงับปวดและวางยาสลบในสัตว์
1.8 หน่วยทัศนวินิจฉัย
2. หน่วยคลินิกพิเศษ
2.1 โรคระบบประสาท
2.2 โรคผิวหนัง
2.3 โรคตา
2.4 โรคหัวใจ
2.5 ทันตกรรมและโรคในช่องปาก
2.6 โรคเนื้องอกและมะเร็ง
2.7 โรคกระดูกและข้อ
2.8 โรคสูติกรรมและความสมบูรณ์พันธุ์
ฝ่ายบริหารมีหน้าที่ในการวางแผน กำหนดนโยบาย อัตรากำลังคน การพัฒนาศักยภาพของโรงพยาบาลสัตว์ในด้านการให้บริการ ความเป็นอยู่ของผู้ปฏิบัติงาน พัฒนาความก้าวหน้าในสาขางาน ปรับปรุงสถานที่ อุปกรณ์ ยา และเวชภัณฑ์ให้มีความพร้อมสำหรับการตรวจวินิจฉัยและรักษา แบ่งออกเป็น 10 หน่วยงานย่อยดังนี้
1. ฝ่ายแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคล
2. ฝ่ายพัฒนาวิชาการ
3. ฝ่ายสวัสดิการ
4. ฝ่ายประเมินผลการปฏิบัติงาน
5. ฝ่ายพัฒนาความก้าวหน้าในสาขางาน
6. ฝ่ายธุรการและซ่อมบำรุง
7. ฝ่ายทะเบียนประชาสัมพันธ์และงานบริการ
8. ฝ่ายพัสดุ ยาและเวชภัณฑ์
9. ฝ่ายจ่ายกลาง
ฝ่ายภาระงานฝ่ายประกันคุณภาพ มีหน้าที่วางแผนจัดทำมาตรฐานโรงพยาบาลสัตว์ วางระบบการจัดเก็บข้อมูลสำหรับงานประกันคุณภาพ ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการจัดทำมาตรฐานการทำงานในหน่วยงานต่าง ๆ ประมวลผลและเปรียบเทียบข้อมูลการดำเนินงานของโรงพยาบาลสัตว์กับโรงพยาบาลสัตว์อื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนามาตรฐานคุณภาพของโรงพยาบาลสัตว์ นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ เพื่อทำหน้าที่ในการสืบสวน สอบสวนและพิจารณาข้อร้องเรียนต่าง ๆ ในแง่วิชาการ คุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงานของสัตวแพทย์ และเจ้าหน้าที่ เพื่อให้เกิดประโยชน์และพัฒนาการงานด้านงานวินิจฉัยและรักษาสัตว์ป่วยโรงพยาบาลสัตว์เพื่อการเรียนการสอนแห่งมหาวิทยาลัยมหิดลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ ของการวินิจฉัยที่รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ
รวมทั้งการรักษาที่มีประสิทธิภาพ จึงได้จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ทันสมัยมากมาย อาทิเช่น อุปกรณ์การผ่าตัดโดยผ่านกล้องจุลทรรศน์ เครื่องผ่าตัดต้อกระจก เครื่องอัลตราซาวนด์ เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ เครื่องตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เครื่องวัดความดันลูกตา กล้องส่องโพรงจมูก กล้องส่องระบบทางเดินอาหารและช่องท้องและ เครื่องตรวจจอประสาทตา เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีส่วนของการรับฝากสัตว์ป่วยใน เพื่อการวินิจฉัย หรือรักษาแบบต่อเนื่องเพื่อการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ ทางโรงพยาบาลได้ส่งบุคลากรไปอบรม สัมมนา และ ศึกษาต่อในระดับสูงในสาขาวิชาต่าง ๆ กับหน่วยงานทั้งในประเทศไทย และ ต่างประเทศ
อาทิเช่น สมาคมสัตวแพทย์ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์แห่งประเทศไทย คณะสัตวแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และPost Graduate Foundation in Veterinary Science, University of Sydneyโรงพยาบาลสัตว์เพื่อการเรียนการสอนแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นโรงพยาบาลสัตว์ขนาดใหญ่โดยในปีที่ผ่านมามีสัตว์ป่วยเข้ารับการบริการมากกว่า 50,000 ราย และสามารถรองรับสัตว์ป่วยเข้าพักเป็นสัตว์ป่วยในได้สูงถึง 70 ราย/วัน
วันและเวลาทำการ
คลินิกในเวลาราชการ
วันจันทร์ - วันพฤหัสบดี - เวลา 8.30 - 15.30 น.
วันศุกร์ เวลา 8.30 - 11.30 น.
คลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ
เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 17.00 - 20.00 น.
คลินิกฉุกเฉินและสัตว์ป่วยวิกฤติ
เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 08.30 - 20.00 น.
หมายเหตุ ในช่วงวันปีใหม่และวันสงกรานต์จะเปิดให้บริการเฉพาะคลินิกฉุกเฉินเท่านั้น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โรงพยาบาลสัตว์เพื่อการเรียนการสอนแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
999 พุทธมณฑลสาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล นครปฐม 73170
โทร 02-441-5245-6 โทรสาร 02-441-5246