เจ้าของหลายท่านอาจเคยสงสัยกันว่า เจ้าตัวกลมๆที่เดินไต่ไปมาอยู่บนตัวสุนัขของเราเป็นเห็บ หรือหมัดกันแน่
วันนี้เรามีวิธีการสังเกตความแตกต่างระหว่างเห็บกับหมัดแบบง่ายๆมาฝากกันค่ะ

เห็บ
ตัวเต็มวัยของเห็บจะมี 8 ขา ลำตัวแบนจากด้านบนลงมาด้านล่าง โดยเห็บตัวเมียหลังจากผสมพันธุ์แล้วจะดูดกินเลือดสุนัขจนตัวเปล่ง มีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ จากนั้นจะหล่นลงมาจากตัวสุนัขเพื่อหาที่สำหรับวางไข่ เห็บตัวเมีย 1 ตัวจะวางไข่ได้ประมาณ 2,000-4,000 ใบ หลังจากวางไข่เสร็จเรียบร้อย เห็บตัวเมียจะตายทันที

เห็บในระยะต่างๆ

หมัด
ตัวเต็มวัยของหมัดจะมี 6 ขา ลำตัวแบนจากทางด้านข้าง หมัดสามารถกระโดดได้ไกลเนื่องจากมีขาหลังชนิดกระโดดที่แข็งแรง หมัดจะวางไข่ได้วันละ 50 ฟอง และใน 1 ปี หมัดสามารถแพร่พันธุ์หลังจากดูดเลือดสุนัขเพียง 1 ครั้งเป็นจำนวนกว่าแสนตัว
ปัญหาเห็บหมัดอาจเป็นปัญหาที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงหลายท่านกำลังพยายามหาทางแก้ไขอยู่ เพราะนอกจากจะดูสกปรกแล้ว ยังเป็นพาหะนำโรคก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพมากมาย การควบคุมเห็บหมัดให้ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ต้องควบคุมเห็บหมัดทั้งบนตัวสุนัข และบริเวณสิ่งแวดล้อมที่สุนัขอาศัยอยู่ ที่สำคัญควรป้องกันเห็บหมัดต่อเนื่องเป็นประจำสม่ำเสมอด้วยค่ะ สอบถามข้อมูลการป้องกันเห็บหมัดเพิ่มเติมได้ที่โรงพยาบาลสัตว์รัตนาธิเบศร์สาขา 3 ปทุมธานี หรือโทร 02-5814483-4
เครดิตภาพ: tickencounter.org, originplatinum.co.th