คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของการเจริญของข้อต่อบริเวณสะโพกซึ่งก่อให้เกิดการเสื่อมของข้อต่อตามมาได้ในอนาคต โดยมักพบได้มากในสุนัขพันธุ์ใหญ่ เช่น โกลเด้นรีทรีฟเวอร์เยอรมันเชพเพิร์ดร็อตไวเลอร์ นอกจากนี้สามารถพบได้ในแมวบางชนิดด้วย และโรคนี้ยังมีความเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตที่รวดเร็วของสัตว์ซึ่งให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างข้อสะโพกกับตัวสัตว์ และโรคนี้สามารถเกิดภายหลังจากความผิดปกติของข้อสะโพก เช่น การอักเสบ
อาการของโรคข้อสะโพกเสื่อม ในสัตว์เด็กมักพบอาการก้าวขาหลังลำบากหรือมีลักษณะการเดินคล้ายกระต่าย (Bunny- hopping) ในสัตว์โตหรือในสุนัขอายุมากมักพบอาการคล้ายคลึงกับในสัตว์เด็กและในรายที่มีอาการรุนแรงมักพบภาวะกล้ามเนื้อบริเวณขาหลังฝ่อลีบร่วมด้วยเนื่องจากสัตว์ไม่ใช้ขาหลังเป็นระยะเวลายาวนาน หรืออาการดังต่อไปนี้
1. ความสามารถในการออกกำลังกายลดลง
2. การลุกยืนหรือนั่ง ทำได้ช้าหรือลำบากมากกว่าปกติ
3. สุนัขไม่พยายามหรือไม่สามารถกระโดด ก้าวขึ้นหรือลงบันไดหรือรถยนต์ได้
4. บางครั้งอาจได้ยินเสียงคลิกที่บริเวณสะโพก เวลาสุนัขเดิน
5. ลักษณะการวิ่งจะใช้ 2 ขาหลังก้าวไปพร้อมๆ กัน
6.มีอาการเจ็บขาเด่นชัดมากขึ้นหลังการออกกำลังกายอาจแสดงอาการของขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง
7.สุนัขจะยืนในลักษณะหลังงอ กล้ามเนื้อบริเวณขาหลังและสะโพกลีบเล็กลง บางครั้งสุนัขจะยืนลักษณะขาชิด แต่ปลายเท้าแบะออก
สาเหตุและปัจจัยที่ให้เกิดโรค
1. กรรมพันธุ์ กรรมพันธุ์มักเป็นสาเหตุเริ่มแรกของโรคข้อสะโพกเสื่อมและมักจะเกิดร่วมกับปัจจัยอื่นๆ ทำให้มีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งนี้ พบว่าลูกสุนัขที่เกิดจากพ่อ-แม่ที่ไม่แสดงอาการของ โรคอาจป่วยด้วยโรคนี้ได้ ส่วนลูกสุนัขที่เกิดจากพ่อ-แม่ที่ป่วยด้วยโรคข้อสะโพกเสื่อมจะมีโอกาสเป็นถึง 93%
2. โภชนาการ การให้อาหารเต็มที่ตลอดเวลา จะทำให้มีโอกาสเกิดโรคสูง ควรให้ปริมาณอาหารเพียง 60-70% ของปริมาณอาหารที่สุนัขกินได้
3. อัตราการเจริญเติบโตและขนาดตัวของสุนัข ลูกสุนัขที่มีอัตราการเจริญเติบโตเร็ว และมีน้ำหนักตัวมาก จะมีแนวโน้มเกิดปัญหาได้มากขึ้น
4. สภาพแวดล้อมและการเลี้ยงดู กรณีที่ลูกสุนัขมีแนวโน้มเป็นโรคข้อสะโพกเสื่อมคือมีการออกกำลังกายที่มากเกิน จะทำให้เกิดแนวโน้มการเป็นโรคนี้สูง นอกจากนี้สภาพพื้นผิวที่สุนัขอยู่หากเรียบและลื่น ก็จะทำให้สุนัขที่มีปัญหาข้อสะโพกอยู่แล้วแสดงอาการได้เร็วและรุนแรงขึ้น
สาเหตุและปัจจัยที่ให้เกิดโรค
1. กรรมพันธุ์ กรรมพันธุ์มักเป็นสาเหตุเริ่มแรกของโรคข้อสะโพกเสื่อมและมักจะเกิดร่วมกับปัจจัยอื่นๆ ทำให้มีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งนี้ พบว่าลูกสุนัขที่เกิดจากพ่อ-แม่ที่ไม่แสดงอาการของ โรคอาจป่วยด้วยโรคนี้ได้ ส่วนลูกสุนัขที่เกิดจากพ่อ-แม่ที่ป่วยด้วยโรคข้อสะโพกเสื่อมจะมีโอกาสเป็นถึง 93%
2. โภชนาการ การให้อาหารเต็มที่ตลอดเวลา จะทำให้มีโอกาสเกิดโรคสูง ควรให้ปริมาณอาหารเพียง 60-70% ของปริมาณอาหารที่สุนัขกินได้
3. อัตราการเจริญเติบโตและขนาดตัวของสุนัข ลูกสุนัขที่มีอัตราการเจริญเติบโตเร็ว และมีน้ำหนักตัวมาก จะมีแนวโน้มเกิดปัญหาได้มากขึ้น
4. สภาพแวดล้อมและการเลี้ยงดู กรณีที่ลูกสุนัขมีแนวโน้มเป็นโรคข้อสะโพกเสื่อมคือมีการออกกำลังกายที่มากเกิน จะทำให้เกิดแนวโน้มการเป็นโรคนี้สูง นอกจากนี้สภาพพื้นผิวที่สุนัขอยู่หากเรียบและลื่น ก็จะทำให้สุนัขที่มีปัญหาข้อสะโพกอยู่แล้วแสดงอาการได้เร็วและรุนแรงขึ้น
การวินิจฉัยโรคข้อสะโพกเสื่อม
การวินิจฉัยโรค เมื่อพบการผิดปกติจากการยืน เดิน ออกกำลังกาย เจ้าของสุนัขควรพามาหาสัตวแพทย์ คุณหมอจะทำการวินิจฉัยโรคจากการตรวจร่างกายเริ่มตั้งแต่
1. การสังเกตท่าทางการเดินของสัตว์ที่มีการก้าวขาหลังได้น้อยกว่าปกติ หรือทดสอบความยืดหยุ่นของข้อสะโพกโดยการจับสัตว์ในท่านอนหงายและผู้ตรวจจับขาหลังของสัตว์ในท่าตั้งฉากกับพื้นและทดสอบโดยการดันขาหลังและกางออกซึ่งใน สัตว์ที่เป็นโรคข้อสะโพกเสื่อมจะพบว่าข้อสะโพกหลุดออกจากเบ้าสะโพกซึ่งเรียกลักษณะนี้ว่า Ortolani sign นอกจากนี้อาจจะพบภาวะกล้ามเนื้อฝ่อลีบได้ การตรวจข้อสะโพก สามารถ ตรวจได้ตั้งแต่ลูกสุนัขอายุประมาณ 8 สัปดาห์ ซึ่งยังมองไม่เห็นความผิดปกติด้วยภาพถ่ายรังสี
2.การถ่ายภาพรังสีเอ็กซ์เรย์ ใช้ประเมินความรุนแรงของโรคได้ในช่วงอายุ 12-18 เดือน สำหรับลูกสุนัขที่มีปัญหารุนแรงสามารถตรวจพบการเปลี่ยนแปลงของข้อต่อได้เร็ว กว่านี้ การใช้รังสี สามารถดูลักษณะของข้อสะโพกที่ผิดปกติโดยจะพบว่าหัวกระดูกจะถูกปกคลุมโดยเบ้ากระดูกน้อยกว่า 50% ของหัวกระดูกทั้งหมด อาจพบภาวะอื่นๆเช่น ภาวะกระดูกงอกที่ข้อสะโพกซึ่งเกิดภาวะการอักเสบที่ตามมาจากโรคข้อสะโพกเสื่อม การรักษา แบ่งเป็น 3 ลักษณะคือ
2.1 การรักษาทางยา เป็นการรักษากรณีที่เริ่มมีอาการ โดยการใช้ยาแก้ปวด ลดอักเสบ รวมทั้งการใช้สารเสริมอาหารพวกกลูโคซาไมด์ และคอนดรอยติน ร่วมไปกับการควบคุมปริมาณอาหารที่เหมาะสม นอกจากนี้ควรให้สุนัขมีการออกกำลังกายที่เหมาะสม
2.2 การรักษาโดยการผ่าตัด มีจุดประสงค์เพื่อ
– ลดอาการเจ็บปวดบริเวณข้อต่อ
– เพื่อให้สุนัขสามารถกลับมาใช้ขารับน้ำหนักได้
– เพื่อลดการดำเนินไปของโรค แต่อย่างไรก็ตามการผ่าตัดในกรณีที่สุนัขป่วยมานาน กล้ามเนื้อขาเริ่มลีบ จะให้ผลการรักษาที่ไม่ค่อยดีนัก ทั้งนี้ การผ่าตัดมีหลายวิธี เช่น การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก การตัดหัวกระดูกในรายที่มีการเจ็บและอักเสบของข้อสะโพกอย่างรุนแรง
3. การกายภาพบำบัดซึ่งเป็นทั้งการรักษาในกรณีสัตว์ที่ไม่ได้มีการผ่าตัดหรือเป็นการรักษาในสัตว์ภายหลังที่ได้รับการผ่าตัดโดยการกายภาพบำบัดนั้นเป็นการช่วยแก้ไขภาวะที่ตามมาจากโรคข้อสะโพกเสื่อม เช่นภาวะกล้ามเนื้อฝ่อลีบ ภาวการณ์อักเสบของข้อต่อ ภาวะข้อต่อยึดเกร็งจากการไม่ใช้ขาเป็นระยะเวลายาวนาน โดยการกายภาพบำบัดที่ทำในสัตว์ เช่น การว่ายน้ำ การเดินลู่วิ่งใต้น้ำ การใช้อุปกรณ์ต่างๆเพื่อช่วยกายภาพบำบัด
โรคข้อเสื่อมในสุนัข เป็นโรคทางพันธุกรรม ดังนั้นเมื่อต้องการซื้อสุนัขใหม่มาเลี้ยงในบ้าน ท่านต้องตรวจให้ถ้วนถี่ว่าพ่อพันธ์ุแม่พันธ์ุไม่ได้เป็นโรคนี้ ซึ่งหากท่านซื้อจากฟาร์มหรือแหล่งเพาะพันธ์โดยตรงจะมีใบรับรองให้มา แต่หากซื้อตามจตุจักรหรือบ้านทั่วไปจึงเป็นเรื่องยากที่จะตรวจสอบ จึงเป็นข้อควรระวังอย่างยิ่งเมื่อท่านต้องการซื้อสุนัขใหม่มาเลี้ยงควรสอบถามตรวจสอบให้ดีเสียก่อน
ทีมสัตวแพทย์ โรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชัน
แผนกศัลยกรรม กระดูกและข้อ