โรคเบาหวาน
1 Vote 8600 Views
โรคเบาหวาน

เป็นโรคที่พบได้ทั้งในสุนัขและแมว เกิดจากความผิดปกติในการสร้างอินซูลินหรือประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ลดลงเนื่องจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ร่างกายของสัตว์ไม่สามารถนำนํ้าตาลที่ได้จากการทานอาหารไปใช้เป็นพลังงานต่อได้ ดังนั้นร่างกายของสัตว์จึงมีภาวะนํ้าตาลในเลือดสูงกว่าปกติ

สัตว์ที่เสี่ยงต่อการป่วย

ชนิดของโรคเบาหวานมี 2 ชนิดด้วยกัน

1. โรคเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน (Insulin-dependent diabetes mellitus/ IDDM) Type I Diabetes) มักพบในสุนัข เกิดจากการที่ตับอ่อนของสัตว์สร้างอินซูลินไม่ได้เลย หรือสร้างได้แต่ได้น้อยมาก

2. เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน (Non-insulin-dependent diabetes mellitus/NIDDM) Type II Diabete) พบว่าในแมวมักป่วยเป็นเบาหวานชนิดนี้ เกิดจากการที่ตับอ่อนสร้างอินซูลินได้ไม่เพียงพอกับความต้องการหรือสร้าง อินซูลินได้แต่ไม่ออกฤทธิ์ ทำให้มีระดับนํ้าตาลในกระแสเลือดสูงขึ้น ได้เช่นกัน

ในบางรายที่ตรวจพบโรคเบาหวานช้าอาจแสดงอาการรุนแรงมากขึ้น จนเกิดภาวะที่เรียกว่าเบาหวานเป็นพิษ (Diabetic Keto Acidosis(DKA) คือ เกิดจากการที่ร่างกายนำนํ้าตาลไปใช้เป็นพลังงานไม่ได้ จึงต้องใช้พลังงาน จากแหล่งอื่นแทน เช่นไขมัน จึงได้กรด(คีโตน) ออกมาปริมาณมากทำให้เกิดภาวะร่างกายเป็นกรดอย่างรุนแรง อาการที่พบ อาเจียน ท้องเสีย ซึม เบื่ออาหาร ขาดนํ้าอย่างรุนแรงถือเป็นภาวะฉุกเฉินหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทัน ท่วงทีอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

การตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวาน

1. การตรวจวัดระดับนํ้าตาลในกระแสเลือด ควรงดนํ้า อาหารมาอย่างน้อย 8 ชั่วโมงก่อนการตรวจ 2. ตรวจระดับนํ้าตาลในปัสสาวะ 3. การตรวจวัดระดับของฟรุกโตซามีน (frustosamine level)สามารถวินิจฉัยระดับนํ้าตาลในระยะ 2-3 สัปดาห์ของสัตว์ได้

การรักษา

1. การฉีดฮอร์โมนอินซูลิน ในการฉีด อินซูลิน สัตวแพทย์จะเป็นผู้กำหนด ปริมาณ / จำนวนครั้งที่ฉีด โดยให้เจ้าของฉีด ให้สัตว์เองทุกวัน ขนาดอินซูลินที่ใช้ในแต่ละตัวอาจไม่เท่ากันแม้ว่าจะมีนํ้าหนักเท่ากันก็ตาม เนื่องจากการเผาผลาญ และการนำอินซูลินไปใช้ได้แต่ละตัวไม่เหมือนกัน ดังนั้นแพทย์จะทำการวัดระดับนํ้าตาล กลูโคสในเลือดก่อนและหลัง ฉีดอินซูลินในช่วงเวลาต่างๆของวัน (Blood glucose curve) เพื่อหาขนาดของอินซูลินที่เหมาะสมกับแต่ละตัว มักจะนัดให้มาทำการตรวจนี้ซํ้าทุก 1-2 เดือน อินซูลินที่ใช้ไม่ได้ผล สัตว์ยังมีภาวะนํ้าตาลสูงกว่าปกติ ทั้งที่ให้อินซูลิน

• ร่างกายเกิดการต่อต้านอินซูลินที่ให้ได้ (Insulin resistance)ขึ้นมา
• ให้อินซูลินไม่ถูกต้อง เช่น ให้ไม่ตรงขนาดหรือให้ไม่ตรงเวลาหรือใช้อินซูลินที่หมดอายุ การจัดเก็บอินซูลินไม่เหมาะสม ไม่ได้แช่ในตู้เย็นที่มี่อุณหภูมิคงที่ไม่ได้กลิ่ง (mix) ขวดอินซูลินบนฝ่ามือให้เข้ากันก่อนที่จะนำมาใช้ สัตว์ได้รับอาหารมาก เกินไป หรือมีปัญหาโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เป็นต้น

2.อาหาร เป็นแหล่งที่ทำให้มีนํ้าตาลในร่างกายสูง ดังนั้นอาหารของสัตว์ป่วยโรคเบาหวาน ควรเป็นอาหารที่จำกัดปริมาณ ของคาร์โบไฮเดรตและไขมัน เน้นให้มีกากใยหรือไฟเบอร์สูงๆ การคุมอาหารจะมีส่วนช่วยในการรักษาอย่างมาก เพราะการฉีดอินซูลิน จะคำนวณจากความต้องการพลังงานในแต่ละวัน หรืออาหารที่สัตว์ทานในแต่ละมื้อและ ไม่ควรให้ขนมอื่นๆ เพราะจะทำให้ยากต่อการควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือด

3.ออกกำลังกาย สัตว์ที่เป็นโรคเบาหวานควรได้รับการออกกำลังกายอย่างพอเหมาะและสมํ่าเสมอ เพื่อช่วยให้การทำงานของ อินซูลินดีขึ้น อีกทั้งการออกกำลังกายยังเป็นการช่วยควบคุมนํ้าหนัก และช่วยให้การไหลเวียนของเลือดให้ดีขึ้นด้วย แต่เราก็ไม่ควรให้น้องหมาออกกำลังกายหนักเกินไป ไม่เช่นนั้นอาจเกิดภาวะนํ้าตาลในเลือดตํ่า (hypoglycemia) ตามมาได้


ทีมสัตวแพทย์ โรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชัน
แผนกอายุรกรรมทั่วไป