โรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อราพบได้บ่อยในแมว "โดยเฉพาะแมวพันธ์ุเปอร์เซีย" ส่วนใหญ่มักมีการติดเชื้อ ตั้งแต่ยังอายุน้อย
• ขนร่วงเป็นวง อักเสบแดง
• ผิวหนังแห้งเป็นสะเก็ด
• บางตัว มีอาการคัน ร่วมด้วย
• เจ้าของจะสังเกตได้จากแมวชอบถูตัว หรือเลียตัว บ่อยขึ้น
ความรุนแรงจะขึ้น อยู่กับ การกระจายตัว ของรอยโรค หากเจ้าของปล่อยทิ้ง ไว้ไม่พาน้องแมวมาทำการรักษา อาจทำให้โรคมีการกระจายตัว ที่ผิวหนัง ทั่วร่างกาย ซึ่งจะทำให้ใช้เวลาในการรักษานานมากขึ้น
โรคนี้เป็นโรคที่สามารถติดมาสู่คนได้ (zoonosis) หากคนที่มีร่างกายอ่อนแอ หรือสภาวะผิวหนังอ่อนแอ โดยเฉพาะเจ้าของแมวที่มีการคลุกคลี กับน้องแมวตลอด ก็สามารถได้รับเชื้อ ได้ อาการของคนที่เป็นเชื้อราก็จะมีอาการทาง ผิวหนังที่คล้ายในแมว เช่น มีอาการคัน ผิวหนังนูน เป็นวงขอบแดง และสามารถกระจายหรือขยายขนาดใหญ่ขึ้น ได้เช่นกัน หากไม่ทำการรักษา
เราไม่สามารถวินิจฉัย โรคเชื้อราได้จากการดูด้วยตาเปล่า หากสงสัยการติดเชื้อรา สัตวแพทย์จะทำการตรวจโดย
• ใช้การส่องไฟตรวจเชื้อรา (Wood’s lamp)
• เก็บตัวอย่างขน เพื่อเพาะเชื้อราในอาหารเลี้ยงเชื้อ เพื่อยืนยันการติดเชื้อ
การรักษาสามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งสัตวแพทย์จะเลือกวิธีที่เหมาะสมกับ สัตว์แต่ละตัว และความรุนแรงของโรค เช่น
• เช่นยาทาฆ่าเชื้อราเฉพาะที่
• แชมพูฆ่าเชื้อและยากินฆ่าเชื้อรา
• ปัจจุบันนี้ยังมีการใช้วัคซีนในการป้องกันการ ติดเชื้อราชนิด Microsporumcanis ได้อีกด้วย
เจ้าของสามารถสอบถามโปรแกรมวัคซีนป้องกันเชื้อราได้จากสัตวแพทย์