อันตรายจากเห็บ
0 Vote 19689 Views

เห็บ คืออะไร

เห็บ มีมากกว่า 870 สายพันธุ์ จัดเป็นปรสิตที่ดูดเลือดที่มีความใกล้เคียงกับตัวไร และแมงมุม โดยดูดเลือดจากสัตว์มีกระดูกสันหลัง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม รวมถึง สุนัข คน นก สัตวเลี้อยคลาน
และแม้กระทั่ง สัตว์ครึ่งบกครี่งน้ำ
เห็บที่พบในสุนัข แถบยุโรปและในประเทศไทยคือ เห็บสีน้ำตาล (Brown dog tick ; Rhipicephalus sanguineus) ซึ่งเป็น เห็บที่พบได้ในบ้าน และ คอกสุนัข พบได้ทุกฤดูกาล และพบมากในหน้าร้อน


วงจรชีวิตเห็บ เป็นอย่างไร

เห็บ มีวงจรชีวิต 4 ระยะ คือ
1 ไข่ 2. ตัวอ่อน (larva) 3. ตัวกลางวัย (Nymp) 4. ตัวเต็มวัย (Adult)

เห็บตัวเมียวางไข่บนบริเวณอับแสง อาจวางไข่ได้มากถึง 4,000 ฟองในช่วงเวลา 6-20 วันก่อนที่เห็บจะตายไป
ไข่เห็บจะฟักเป็นตัวอ่อนหลังจากนั้น 16-30 วัน แล้วมีการลอกคราบเป็นตัวกลางวัยและเป็นตัวเต็มวัยต่อมา
ซึ่งระยะตัวอ่อนตัวกลางวัย และตัวเต็มวัยต้องดูดเลือด ช่วงเวลานี้ทำให้แพร่เชื้อโรคให้กับสุนัขได้ทุกระยะ
เห็บตัวผู้ดูดเลือดเพียงเล็กน้อยและสามารถผสมพันธุ์ได้หลายครั้งบนตัวโฮสต์(สัตว์) โดยมีชีวิตอยู่ได้นานกว่าเห็บตัวเมีย
เห็บตัวเมียดูดเลือดจำนวนมากและเพิ่มขนาดตัวได้เท่ากับเลือดที่ดูดเข้าไป การผสมพันธุ์จะเกิดขึ้นหลังการดูดเลือด
หลังจากนั้นเห็บตัวเมียจะออกจากโฮสต์ เพื่อวางไข่ กลายเป็นวงจรเห็บต่อไป


เห็บ มีอันตรายอย่างไร

เห็บ ทำให้เกิดการระคายเคืองที่ตำแหน่งดูดเลือด และแพร่โรคติดเชื้อที่สำคัญจากสุนัขตัวหนึ่งไปตัวอื่นๆ ได้แก่
โรคพยาธิเม็ดเลือด ได้แก่ Erhlichiosis, Babesiosis, Hepatozonosis
เชื้อโปรโตซัว แบคทีเรีย เชื้อริกเก็ตเชีย และไวรัสบางตัว
นอกจากนี้ก่อให้เกิดโรค ภาวะเลือดจาง ผิวหนังอักเสบจากแพ้เห็บ

อาการของสุนัขที่ติดเชื้อจากเห็บ เป็นอย่างไร
เห็บ 1 ตัวสามารถดูดเลือด ≥ 0.6 มล. ดังนั้นถ้ามีเห็บจำนวนมากสุนัขจะมีอาการโลหิตจาง น้ำหนักลด และอาจถึงตาย ส่วนตำแหน่งที่เห็บเกาะดูดเลือด พบการ บวม ระคายเคือง แดง คัน ซึ่งเกิดรอบๆ บริเวณที่เห็บกัด พบการติดเชื้อที่มาจากเห็บที่สำคัญคือ เชื้อโปรโตซัวบาบิเซีย และเชื้อริกเก็ตเชียเออร์ลิเชีย ซึ่งทำอันตรายต่อสุนัขอย่างยิ่ง และแพร่เชื้อไปสู่สุนัขตัวอื่นๆ ได้ พบว่าสุนัขอาจแสดงอาการป่วยหลังการรับเชื้อ 1-4 สัปดาห์ หรืออาจนานกว่านี้ ขึ้นกับปริมาณเชื้อที่ได้รับ

เรามีวิธีป้องกันสุนัขจากเห็บได้อย่างไร

ปัจจุบันมีหลายวิธีที่ใช้ป้องกันและควบคุมกำจัด ดังนี้

-ยาเม็ดแบบเคี้ยว
-ปลอกคอป้องกันและกำจัดเห็บ หมัด
-ผลิตภัณฑ์ชนิดหยดหลัง สเปรย์ อาบ แชมพู
-ควบคุมกำจัดเห็บหมัดในสิ่งแวดล้อม


คุณสามารถช่วยสุนัขของคุณได้อย่างง่ายๆ

โดยนำสุนัขของท่านเข้ารับการ ”ตรวจวัดระดับน้ำตา”

ที่คลินิกรักษาสัตว์และโรงพยาบาลสัตว์ได้แล้ววันนี้

ด้วยความปรารถนาดี จาก บริษัท อินเตอร์เว็ท (ประเทศไทย) จำกัด