การดูแลสัตว์เลี้ยงสูงอายุ
0 Vote 10442 Views
การดูแลสัตว์เลี้ยงสูงอายุ

เมื่อสัตว์เลี้ยงอยู่กับท่านมาหลายปีความน่ารักความสดใสในวัยเด็กก็ก้าวผ่านไปเข้าสู้วัยผู้ใหญ่ที่เริ่มมีการเรียนรู้อะไรมากขึ้น ฟังคำสั่งมากขึ้น หรือมีทายาทตัวน้อยๆเป็นผลผลิตให้แก่เจ้าของ ปฏิเสธไม่ได้ว่าสัตว์เลี้ยงของท่านก็ต้องอายุมากขึ้น สัตว์เลี้ยงของท่านก็เหมือนคนแก่พออายุมากขึ้นก็มีโรคภัยไข้เจ็บต่างๆก็ตามมา จะทราบได้อย่างไรว่าสัตว์ของท่านเข้าสู่ช่วงไหนของชีวิตและจะรับมืออย่างไรดี เรามีคำแนะนำดีๆมาฝากคะ

ช่วงอายุ

สุนัขพันธุ์ใหญ่ อายุประมาณ 7ปีขึ้นไปถือว่าเริ่มเข้าสู่วัยชรา
สุนัขพันธุ์เล็ก หรือพันธุ์ทอย อายุประมาณ 8-10 ปี จะเข้าสู่ช่วงวัยชรา
เมื่อทราบช่วงอายุแล้วจะเตรียมตัวรับมือและจัดการอย่างไร

อาหาร

พฤติกรรมของสัตว์เลี้ยงเมื่อเข้าสู่วัยชรา กิจกรรมต่างๆ activity ของสัตว์จะลดลง ทำให้มีการสะสมของพลังงานส่วนเกินมาก สัตว์อาจมีปัญหาโรคอ้วนได้ ควรปรับสูตรอาหารเป็นอาหารสำหรับสูตรของสัตว์ชรา ที่จะลดปริมาณของโปรตีน และพลังงานลง หรือสัตว์ที่มีโรคประจำตัวอาจต้องทานอาหารสำหรับรักษาโรคนั้นๆ

สุขภาพ

สัตว์สูงอายุก็มีปัญหาโรคภัยไข้เจ็บเหมือนกับคนแก่ สัตว์บางตัวมีโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่าง
กาย เช่น โรคไต โรคหัวใจ ความดัน ต่างๆได้คะ ควรพาสัตว์เลี้ยงไปตรวจเช็คร่างกายโดยสัตว์แพทย์อย่างละเอียดโดยอาจใช่โปรแกรมตรวจสุขภาพของสัตว์สูงอายุที่ค่อนข้างจะละเอียดกว่าช่วงอายุอื่นๆ สัตว์สูงอายุควรพาไปตรวจร่างกายสม่ำเสมอทุกๆ 6 เดือน ถ้าเจอความผิดปกติใดๆจะได้ทำการรักษาได้ทันถ่วงที

โรคประจำตัว/ยารักษาโรค

ในสัตว์ที่มีโรคประจำตัวต่างๆ ยาที่ใช้รักษามีความสำคัญ เจ้าของควรป้อนยาอย่างสม่ำเสมอ และพาไปตรวจติดตามอาการตามการนัดหมายของสัตว์แพทย์อย่างตรงเวลา เพื่อให้สัตว์ของท่านมีคุณภาพมีชีวิตที่ดีและอยู่กับท่านไปนานๆ

ที่อยู่อาศัย

สัตว์สูงวัยบางตัวมีความระแวงเป็นพิเศษ ต้องการความใกล้ชิดเจ้าของและความสงบ ปราศจากการรบกวนจากสัตว์เลี้ยงตัวอื่น อาจให้สัตว์เลี้ยงของท่านอยู่ใกล้ชิดกับท่านมากขึ้น และหมั่นเข้าหาคอยเช็คอาการและความผิดปกติต่างๆเป็นประจำ และในกรณีสัตว์ชราที่มี่ปัญหาการมองเห็น ตาบอด คววรจัดที่พักให้เหมาะสม ไม่มีเหลี่ยมหรือคมอะไรที่เป็นอันตรายที่สัตว์จะเดินไปชนได้

การขับถ่าย

ในสัตว์สูงอายุบางตัวที่มีปัญหาเรื่องการขับถ่ายที่ผิดปกติ หรือการเดินที่สามารถลุกเดินไปขับถ่ายได้ เจ้าของอาจต้องช่วยพยุง หรือจัดหาแผ่นรองซับเพื่อรองรับสิ่งขับถ่าย และหมั่นเช็ดตัวสัตว์ที่เลอะ หรือพลิกตัวเป็นประจำเพื่อกันปัญหาแผลกดทับหรือแผลฉี่กัดแก่สัตว์เลี้ยง

เมื่อทราบสิ่งเหล่านี้แล้วก็พร้อมที่จะรับมือกับวัยชราได้อย่างไม่ยากเลยคะ สัตว์เลี้ยงมีหัวใจเป็นส่วนนึงของสมาชิกในบ้าน เมื่อถึงวัยชราที่อาจจะไม่น่ารักเหมือนก่อนอย่าปล่อยทิ้งขว้างหรือปล่อยวัดให้เป็นภาระของคนอื่นเลยคะ

สพ.ญ. ชนินันท์ สุทธิผล