iTaam.co

โรคหัวใจในสุนัข

โรงพยาบาลสัตว์รัตนาธิเบศร์ สาขาใหญ่ ราชพฤกษ์

โรคหัวใจเป็นโรคที่สามารถเกิดได้บ่อยในสุนัข โดยแบ่งออกเป็นโรคหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิดและเป็นตามมาทีหลังเมื่อสุนัขอายุมากขึ้น

1. โรคหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิด (congenital heart diseases)

เช่น การคงอยู่ของหลอดเลือดที่เชื่อมระหว่างเส้นเลือดที่ออกจากหัวใจและเส้นเลือดแดงขนาดใหญ่ ในขณะที่เป็นตัวอ่อน (patent ductus arteriosus) ความผิดปกติของผนังกั้นหัวใจห้องซ้ายและขวา (septal defect) ลิ้นหัวใจตีบ (vascular stenosis) เป็นต้น

2. โรคหัวใจที่เกิดตามมาทีหลัง (acquired heart disease)

โรคหัวใจในกลุ่มนี้สามารถเจอได้บ่อยในสุนัขโดยเฉพาะ เมื่อสุนัขอายุมากขึ้น เช่น โรคนี้มักเจอในสุนัขพันธุ์เล็ก เช่น Poodle, Shi Tzu เป็นต้น โรคหัวใจโตแบบขยายใหญ่ออกด้านนอก (dilated cardiomyopathy) โรคนี้มักเจอในสุนัขพันธุ์ใหญ่ เช่น cocker spaniels, Dalmatians, Doberman Pinschers, Great Danes, Golden Retrivers เป็นต้น

อาการ

อาการของโรคหัวใจนั้นบ่งบอกได้ยาก เพราะมักคล้ายคลึงกับความผิดปกติของโรคอื่นๆ แต่หากเจ้าของสังเกตพบอาการเหล่านี้ นั่นอาจแสดงว่าสัตว์เลี้ยงของท่านมีความผิดปกติของหัวใจ

อาการระยะเริ่มแรกของโรคหัวใจอาจไม่แสดงออกมาอย่างเด่นชัด ถ้าสัตว์เลี้ยงมีอาการมากกว่า 2 ข้อขึ้นไป แสดงว่าสัตว์เลี้ยงของคุณอาจมีภาวะเสี่ยงของโรคหัวใจ ดังนั้น หากเจ้าของเริ่มสังเกตอาการดังกล่าวโดยเฉพาะสุนัขที่มีอายุมาก ให้รีบพามาพบสัตวแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาต่อไป

การตรวจวินิจฉัย

ประกอบด้วย
1. การตรวจร่างกายทั่วไป
2. การตรวจนับเม็ดเลือดและค่าเคมีในเลือด
3. การถ่ายภาพเอกซเรย์ช่องอก
4. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
5. การตรวจอัลตราซาวน์หัวใจ
6. การตรวจวิเคราะห์น้ำในช่องอกและช่องท้อง
7. การตรวจพิเศษอื่นๆ เช่น การฉีดสีเข้าหัวใจเพื่อดูการตีบแคบของลิ้นหัวใจ

การดูแลสุนัขที่มีปัญหาโรคหัวใจ (health management )

การดูแลสุนัขที่มีปัญหาโรคหัวใจ เป็นหน้าที่ของเจ้าของที่ต้องดูแลเพื่อให้สุนัขมีคุณภาพชีวิตที่ดีและอายุยืนยาว เนื่องจากโรคหัวใจเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งการดูแลสามารถทำได้ดังนี้

1. ป้อนยาให้สม่ำเสมอและไปพบสัตวแพทย์ตามกำหนดนัด

2. จำกัดปริมาณเกลือในอาหาร หรือให้อาหารสำหรับสุนัขที่มีปัญหาโรคหัวใจโดยตรง เนื่องจากมีการคำนวณสูตรอาหารและมีปริมาณเกลือในอาหารที่เหมาะสมกับสุนัขป่วยอยู่แล้ว การให้อาหารที่มีปริมาณเกลือมากจะทำให้เกิดการดึงน้ำกลับเข้าสู่ร่างกายและทำให้สุนัขแสดงอาการของโรคมากขึ้น และทำให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้นด้วย

3. จำกัดการออกกำลังกายโดยเฉพาะสุนัขที่มีปัญหาโรคหัวใจในระยะรุนแรงและสุนัขที่มีปัญหาหัวใจโต

4. สังเกตความผิดปกติและรีบพบสัตวแพทย์ทันทีที่พบความผิดปกติ เช่น เป็นลมหมดสติ เยื่อเมือกคล้ำ
อาเจียน หายใจลำบาก เป็นต้น

การพยากรณ์โรค (Prognosis)

การพยากรณ์โรคสำหรับสุนัขที่มีปัญหาโรคหัวใจขึ้นอยู่กับขนาดของหัวใจ ระยะของโรค ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น การเจ็บป่วยที่สัตว์เป็นอยู่แล้ว และการดูแลเอาใจใส่ของเจ้าของ

ที่มารูป:
www.dopacer.com
www.merckmanuals.com
www.lifewithdogs.th

บทความที่น่าสนใจ