ความดันโลหิต ในสุนัข และ แมว
การวัดความดันโลหิตในสุนัขและแมวจะเป็นการ วัดความดันในหลอดเลือดแดงเป็นหลัก โดยความดัน เลือดจะช่วยบอกถึงการทำงานของระบบหลอดเลือดและหัวใจได้ค่อนข้างดี นอกจากนี้ ความดันเลือดยังมี ผลกระทบต่อระบบอื่นของร่างกายโดยตรง เช่น การ แลกเปลี่ยนก๊าซที่ปอด การพาออกซิเจนไปยังสมอง หรือ การพาออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อส่วนปลายของร่างกายเป็น ต้น สัตว์เลี้ยงสามารถมีภาวะความดันโลหิตท่ีผิดปกติได้ แต่ในระยะเริ่มต้นเจ้าของมัก ไม่ทันสังเกตเห็นอาการ ซึ่ง หากความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงเกินกว่าร่างกายจะ ควบคุมได้จะทำให้เกิดอันตรายต่อสัตว์ได้ดังนั้นเจ้าของ จึง ควรพาสัตว์เลี้ยงไปตรวจสุขภาพเป็นประจำสม่ำเสมอ
ค่าความดันโลหิตในสุนัขและแมวมี 2 ค่า เช่นเดียวกับในคน ได้แก่
- Systolic Blood Pressure ค่าความดันโลหิตขณะ หัวใจบีบตัวอยู่ในช่วง 110-160 mmHg
- Diastolic Blood Pressure ค่าความดันโลหิตขณะ หัวใจคลายตัวอยู่ในช่วง 60-110 mmHg
- ภาวะความดันโลหิตต่า (hypotension) คือ วัดค่า ความดันอยู่ในช่วง < 90/50 mmHg
- ภาวะความดันโลหิตสูง (hypertension) คือ วัดค่า ความดันอยู่ในช่วง > 170/110 mmHg
สาเหตุของการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง
เช่น
1. ภาวะโรค
ภาวะโรคที่โน้มนาทาให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง เช่น โรคไต โรคเบาหวาน โรคของต่อมหมวกไต เป็นต้น
2. อายุเพศพันธ์ุ
ในสัตว์เลี้ยงที่อายุมากมักจะมีความเสี่ยงในการเกิด ภาวะความดันโลหิตสูงมากกว่าสัตว์ที่อายุน้อย
3. การใช้ยา
เช่นการใช้ยาในกลุ่มสเตียรอยด์เป็นต้น
อาการของสัตว์ที่มีภาวะความอันโลหิตสูง
เช่น
มีอาการชัก ตาบอดเนื่องจากจอประสาทตาหหลุดลอก รูม่านตาขยาย เลือดออกภายในตา มีเลือดปนใน ปัสสาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นต้น
สาเหตุของการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ
เช่น
1. ภาวะโลหิตจางรุนแรง หรือการเสียเลือดปริมาณมาก
2.ภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง
3. ภาวะขาดออกซิเจน
4. ภาวะขาดสารอาหาร
อาการของสัตว์ที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำ
เช่น มีอาการเป็นลมโดยเฉียบพลัน อ่อนเพลีย เยื่อเมือกซีด ปลายเท้าเย็น อุณหภูมิร่างกายต่ำ เป็นต้น