iTaam.co

การต่ายฟันยาวผิดปกติ ภาค 2 (ขั้นตอนการรักษาและดูแล)

ธัญพลอย รักษาสัตว์

วิธีการรักษาและการดูแลกระต่ายฟันยาว

1.กระต่ายที่มีอาการฟันหน้ายาวมาก ไม่สามารถเลียกินน้ำและใช้ฟันหน้ากินอาหารได้ ฟันยาวทิ่มจนเกิดแผลที่ริมฝีปาก เมื่อพามาพบหมอ อย่างแรกที่ต้องทำคือ การกรอตัดฟันหน้าให้สั้นในระดับปกติ เพื่อให้กระต่ายกลับมาดำรงชีวิตได้ปกติ กินน้ำและอาหารได้ กินอึพวงองุ่นได้ และทำความสะอาดร่างกายตัวเองได้



การกรอฟันหน้าด้วยเครื่องกรอฟันจะต้องทำโดยหมอผู้ชำนาญ และหลังจากตัดฟันที่ยาวเกินออกแล้วหมอจะกรอลบเหลี่ยมมุมเพื่อให้ฟันกระต่ายได้รูปทรงที่ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด และไม่มีมุมแหลมคมทิ่มให้เกิดแผลในช่องปาก

หลังจากกรอตัดฟันหน้าที่ยาวทิ่มออก กระต่ายจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมาก กินน้ำกินอาหารได้ ไม่เจ็บปวดจากฟันที่ทิ่มปากจนเกิดแผล และสามารถทำความสะอาดร่างกายตัวเองได้

ารกรอตัดฟันหน้าใช้เวลาไม่นาน เมื่อกระต่ายมาถึงที่คลินิกสามารถทำได้ทันที ใช้เวลาเพียง5-10นาที แต่จากลักษณะรากฟันปลายเปิดของกระต่ายที่กล่าวข้างต้น เมื่อระยะเวลาผ่านไปประมาณ 1เดือน ฟันกระต่ายก็จะงอกยาวขึ้นมาอีก จึงจำเป็นที่จะต้องพากระต่ายกลุ่มที่ผิดปกตินี้มากรอฟันหน้าเป็นประจำตลอดอายุขัยของกระต่าย (ค่าใช้จ่ายในการตัดและกรอฟันหน้า@คลินิก ธัญพลอย รักษาสัตว์ 150บาท/ครั้ง)

2. กระต่ายที่มีอาการน้ำลายไหลเปียกใต้คาง และมีกลิ่นเหม็น มีน้ำตาไหล เนื่องจากฟันกรามยาวผิดปกติทิ่มกระพุ้งแก้มเกิดแผลอักเสบติดเชื้อ ในกระต่ายกลุ่มนี้ วิธีการรักษาคือต้องทำการกรอฟันกราม และมีความจำเป็นต้องวางยาสลบเพื่ออ้าปากกระต่ายให้เห็นฟันกรามครบทุกซี่

คลิปวีดีโอแสดงให้เห็นถึงกระต่ายที่มีฟันกรามยาวผิดปกติ จนทิ่มลิ้นและกระพุ้งแก้มเป็นแผลอักเสบติดเชื้อรุนแรง รักษาโดยการวางยาสลบกรอฟันกรามที่ทิ่มบาดลิ้น และให้ยาปฏิชีวนะรักษาการติดเชื้อ

(ค่าใช้จ่ายในการวางยาสลบกรอฟันกราม@คลินิก ธัญพลอย รักษาสัตว์ 900-1200บาท/ครั้ง)



การดูแลกระต่ายฟันยาวที่บ้าน

1. ใช้อาหารเม็ดสูตร Dental Care ที่ลักษณะเม็ดอาหารเป็น Long Fiber เช่่น Cuni Complete Adult เพื่อให้ฟันสึกได้ดีขึ้น ช่วยยืดระยะเวลาในการพามาตัดฟันได้

2. พยายามให้กระต่ายกินหญ้าแห้งที่มีความเหนียว เพื่อเวลาเคี้ยวจะได้ช่วยลับฟันโดยเฉพาะฟันกราม เช่น Oat Hay , Wheat Grass หรือ Barley

3.คอยหมั่นสังเกตุเมื่อฟันเริ่มงอกยาวผิดปกติควรพามาพบสัตวแพทย์เพื่อตัดฟัน

4.ดูแลความสะอาด เนื่องจากกระต่ายกลุ่มนี้จะทำความสะอาดขนตัวเองได้ไม่ค่อยถนัด เจ้าของจึงจำเป็นต้องช่วยหวี หรือตัดก้อนขนออกให้



ที่สำคัญที่สุดคือการเลือกซื้อลูกกระต่าย ควรเปิดฟันดูเป็นสิ่งแรก เนื่องจากโรคฟันยาวในกระต่ายเป็นภาวะที่รักษาไม่หายและเรื้อรัง เจ้าของต้องพากระต่ายมาหาหมอทุกเดือน การป้องกันที่ต้นทางจึงสำคัญที่สุด และเมื่อพบว่ากระต่ายของเรามีภาวะฟันยาวผิดปกติ ก็ไม่ควรขยายพันธุ์ เพราะลูกหลานที่เกิดมาจะมีลักษณะผิดปกติได้เช่นกัน



ธัญพลอย รักษาสัตว์ (รังสิต-ลำลูกกาคลอง4) รักษา ผ่าตัด ตรวจเลือด เอ็กซเรย์ ทำหมัน สุนัข แมว กระต่าย เปิดบริการทุกวัน 09.00-20.00น. นัดหมายล่วงหน้าโทร 0863044766
ยินดีรับบัตรเครดิตทุกธนคาร Line ID : dr.bombam

บทความที่น่าสนใจ